เทคนิคการเลี้ยงไก่ชนพม่า สำหรับมือใหม่ที่ไม่เคยเลี้ยงมาก่อน จะต้องอ่านเพื่อให้ได้พื้นฐานการเลี้ยงไก่ชนที่ดี เพราะไก่ชนแต่ละตัวค่อนข้างที่จะมีราคาเป็นอย่างมาก และจะต้องมีการฝึกฝนที่ดีให้กับไก่ชนอีกด้วย ส่วนซุ้มไก่ชนชื่อดังหรือฟาร์มไก่ชน อาจมีข้อที่แตกต่างกันออกไป อยู่ที่การเลี้ยงดูของแต่ละคน และโครงสร้างของไก่ชนเอง เพราะบางตัวฝึกได้เร็ว บางตัวฝึกได้ช้า ไม่เหมือนกันในแต่ละตัว มาเรียนรู้กับทีมงาน ไก่ชนไทย.com เพื่อให้ทุกคนได้มีความรู้เกี่ยวกับ ไก่ชนพม่า ซึ่งเป็นอะไรที่นิยมมากที่สุดในตอนนี้ โดยวิธีการเลี้ยงไก่ชนพม่ามี ดังนี้
ขั้นตอนแรกเราจะต้องทำความคุ้นเคยกับไก่พม่า อย่าลืมว่าไก่ชนพม่าเป็นอะไรที่เชื่องได้อยากมาก การจับเลี้ยงภายในสุ่มจะดีมากกว่า และก่อนอื่นจะต้อง กาดน้ำไก่ชน ล้างตัวและขนด้วยแซมพูเพื่อไล่ตัวไล่ หลังจากนั้นให้ทำการสังเกตไก่ชนเราเอง โดยตัวไหนยังมีอาการเปรียวอยู่ อาจเพื่อสุ่มให้เล็กลงไปอีก ให้เราสามารถที่จะจับได้ง่ายมากขึ้น หลังจากเชื่องแล้ว ให้ทุกคนลองวางไก่ชน ไก่พม่าที่ดีจะไม่วิ่งหนี จะยืนสู้ตั้งอก แต่เมื่อวางไปแล้ววิ่งหนี ไม่สู้เป็ดสู้ไก่ ระวังให้ดี เจอไก่ไม่เก่งได้
การวางไก่ปล้ำเป็นอันดับแรก สำหรับไก่ชนที่ไม่เคยผ่านสนาม และพึงได้มาครอบครอง ให้ทุกการวางไก่ชนทั่วไป เชิงไม่ได้เก่งมาก ไม่ตีตัว วางไก่อ่อน 10 นาที เพื่อฝึกความเคยชินกับการยืนดิน และให้ดูอาการ ถ้าเกิดยืนดินได้ไม่นาน ยืนไม่อยู่ ให้ทำการเปลี่ยนออกทันที และจัดตารางการฝึกเพื่อออกกำลังกายให้ได้กล้ามเนื้อ ปล่อยตาข่าย วิ่งสุ่มเตะเป้า เตะมุ่ง บิหลุ่มบินท่อ โดยโปรแกรมการฝึกจะฝึกอยู่ประมาณ 2 สัปดาห์ต่อการปล้ำครั้งต่อไป และให้มีเวลาไก่ได้พักด้วย
หลังจากปล้ำครั้งแรกไม่สำเร็จ ให้ทำการฝึกให้เรียบร้อย จนมั่นใจแล้วว่าสามารถที่จะยืนดินได้ดี จึงนำเข้าปล้ำต่อในครั้งที่ 2-4 ครั้ง โดยเราจะปล้ำยกละ 20 นาที ถ้าเกิดไก่ชนตัวที่นำมาปล้ำไม่สามารถปล้ำต่อได้ หรือแพ้ไปก่อน จะต้องมีการปล่อยให้ตีนวดต่อ ห้ามหยุดพักจนกว่าจะครบ เป็นการฝึกไปได้ในตัว โดยการฝึกส่วนมากแล้วจะให้ยืนระยะ การพันตอที่ใช้นวดฟองน้ำ อาจจะหนาหน่อยแต่จะต้องเบา จนกว่าจะมั่นใจจึงเพิ่มน้ำหนักขึ้นไปอีก
การปล้ำครั้งนี้จะเป็นครั้งสุดท้ายแล้ว โดยการปล้ำจะต้องใช้ไก่ชนเก่งด้วยกันทั้งคู่ เหมาะสมสำหรับการปล้ำกัน เพราะอาจเสี่ยงต่อการเสียไก่ได้ เมื่อเลือกไก่ที่ไม่สู้มาสู้ด้วย แต่การปล้ำจะต้องรู้จักไก่ตัวเองให้ดี โครงสร้างไก่ชนแต่ละตัวไม่เหมือนกัน ความแข็งแรงเองก็เช่นเดียวกัน บอกเลยว่าเป็นอะไรที่จะต้องรู้จักการปรับปรุง และการวางตัวไก่ชนของแต่ละตัว แต่ละซุ้มเองก็มีวิธีที่ไม่เหมือนกัน บางตัวชอบการเลี้ยงแบบหนักๆ บางตัวจะต้องปล่อยไปเรื่อยๆ เรื่องนี้จะเป็นตัวตัดสินแล้วว่า ไก่ชนแต่ละตัวจะเก่งหรือไม่เก่ง
จะอยู่กับไก่ชนของแต่ละตัว เพราะมีชั้นเชิงที่แตกต่างกันออกไป ลองเข้าอ่านเนื้อหาเกี่ยวกับ เชิงไก่ชน ทางทีมงานของเราเขียนอธิบายไว้ สามารถที่จะเลือกเลี้ยงได้ความต้องการ โดยวิธีการฝึกจะไม่เหมือนกันอย่าง ไก่ชนเชิงพม่าม้าล่อ เป็นอะไรที่นิยมมากที่สุด จะต้องฝึกให้วิ่งล่อเป้ามากกว่า ส่วนไก่ชนเชิงโยกล่าง ก็ฝึกกับไก่ชนเชิงเดียวกัน เน้นการออกแข้งไก่ชนเป็นหลัก แต่จะต้องมีการใส่นวมเพื่อเป็นการป้องกัน ดูว่าสามารถที่จะใส่นวมได้หนักมากเท่าไหร่ ฝึกให้เคยชินก่อนออกชน จะเป็นอะไรที่ช่วยได้เยอะเป็นอย่างมาก เพราะจะทำให้บินสูงและหลบหลีกได้ดีมากขึ้น
น้ำหนักไก่ชน เป็นอะไรที่สำคัญเป็นอย่างมาก เพราะการแข่งขันในบางครั้ง มีโอกาสที่จะโดนปรับได้เลย เมื่อมีการเปรียบไก่ชนพร้อมชนเรียบร้อย และจะเป็นอะไรที่ส่งผลกับไก่ชนของเราโดยตรงอีกด้วย โดยจะต้องมีการจดบันทึกอยู่ตลอด เพื่อให้ได้ช่วงน้ำหนักที่ดีที่สุด เพราะเมื่อน้ำหนักลดมากกว่าเกณฑ์ ให้มองได้เลยว่า ไก่ป่วย ทำให้น้ำหนักลดลง หรือเมื่อน้ำหนักเพิ่มขึ้นมากจนเกินไป อาจจะทำให้ไก่ชนของเราเองบินไม่ขึ้นได้อีกด้วย ปัญหานี้อาจจะเกิดขึ้นได้อีกด้วย การบันทึกเป็นอะไรที่ดีที่สุด
ไก่ชนพม่า สำหรับไก่ใหม่แล้ว ข้าวสารเป็นอะไรที่ดีที่สุด แต่จะต้องเป็นข้าวสารที่สะอาด มีการขัดด้วยใบตะไค้และตากแห้งได้เป็นอย่างดี เท่านี้ เป็นอะไรที่เพียงพอต่อการเลี้ยงดูไก่ชนแล้ว โดยหลังจากนี้อยู่ที่แต่ละซุ้มหรือคนเลี้ยงแล้วว่า มีการให้อาหารอย่างไรบ้าง โดยนิยมกันมากที่สุดคือ ก่อนออกชนแต่ละครั้งจะต้อง มีการผสมไข่และคลุกกับข้าวสาร และนำมาตากแดดให้แห้งก่อนกิน เช้าและเย็น จะทำให้ไก่ชนมีกำลังเป็นอย่างมาก คึกเป็นพิเศษ และสิ่งที่ขาดไม่ได้คือ บอระเพ็ดสด ให้วันละ 1-2 ข้อนิ้วมือ เป็นยาที่ช่วยบำรุงไก่ชน
ข้อมูลผิดพลาดประการใด ทางทีมงาน ไก่ชนไทย ข้ออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
เข้าร่วมกลุ่ม Line Office รับข่าวสารไก่ชน :: @kaichon-th